ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ติดอันดับใน World’s Top 2% Scientists

ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ติดอันดับใน World’s Top 2% Scientists จากการจัดอันดับโดย Stanford University ปี 2023  โดยสำนักพิมพ์ Elsevier บริษัท SciTech Strategies และ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดใน Top 2% ของโลก (World’s Top 2% Scientists by Stanford University) ปี 2023

https://resmd.kku.ac.th/web/newsinfo/newsone/1057

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชยได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก World’s Top 2% Scientists 2022

นักวิจัย มข.สร้างชื่อระดับนานาชาติ ได้รับการจัดอันดับอยู่ในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก World’s Top 2% Scientists 2022 (เพิ่มเติม)
วารสาร PLOS BIOLOGY ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “Updated science-wide author databases of standardized citation indicators” ซึ่งได้เผยแพร่ข้อมูลรายชื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูงสุดของโลก ใน 22 สาขาวิชาหลัก และ 176 สาขาวิชาย่อย โดยการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดต่าง ๆ ได้แก่ citations, h-index, co-authorship adjusted hm-index, citations to papers in different authorship positions and a composite indicator (c-score) และจัดอันดับนักวิทยาศาสตร์ Top 2% ของโลก โดยใช้ค่า c-score แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. Career-long data ใช้ข้อมูล citation ตั้งแต่ปี 1996-2021
2. single recent year data ใช้ข้อมูล citation ตลอดทั้งปี 2021

https://www.facebook.com/photo?fbid=555809953217400&set=a.337537451711319

#World’s Top 2% Scientists #นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลก

ตำราศัลยกรรมต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์

ศัลยกรรมต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ยังเป็นศาสตร์ที่ไม่หยุดนิ่ง มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดที่ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น การพัฒนาเครื่องมือผ่าตัดชนิดใหม่ที่มีให้เลือกใช้มากขึ้น จำนวนผู้ป่วยผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์ที่เพิ่มขึ้นจากภาวะไตวายเรื้อรัง และการผ่าตัดผ่านกล้องของต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ผู้แต่งเห็นว่าในประเทศไทยยังขาดการรวบรวมองค์ความรู้ในด้านนี้ให้เป็นปัจจุบัน โดยเฉพาะการผ่าตัดต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์ผ่านกล้อง จึงพยายามรวบรวมทั้งจากประสบการณ์ของผู้แต่งและจากเอกสารวิชาการต่าง ๆ ขึ้นเป็นหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเหมาะสำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ทั่วไป ศัลยแพทย์ โสต ศอ นาสิกแพทย์ และบุคคลทั่วไปที่สนใจในการผ่าตัดต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์

ผู้แต่ง: ภาธร ภิรมย์ไชย, ปาริฉัตร ประจะเนย์, ศักดา วราอัศวปติ, กฤชฐา จีระวงศ์พานิช

สามารถสั่งซื้อได้ที่ https://www.chulabook.com/medical-and-nursing/190055

#ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้อง #ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง #ผ่าตัดไทรอยด์ส่องกล้องทางช่องปาก #โรงพยาบาลศรีนครินทร์ #มหาวิทยาลัยขอนแก่น #ขอนแก่น

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอแสดงความยินดี

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชยอาจารย์ประจำสาขาวิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา ในโอกาสได้รับการแต่งตั้งเป็น TQA Assessors
ผู้ตรวจประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจำปี 2565
จากคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชย ได้รับเชิญเป็นวิทยากรหลัก ในหลักสูตรแนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good Clinical Practice: GCP) ณ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ วันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2565

ตำราประสาทหูเทียม

“ประสาทหูเทียม” หนังสือเล่มแรกในประเทศไทยที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประสาทหูเทียมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ในเนื้อหากล่าวถึง

  • ประวัติการพัฒนาประสาทหูเทียม
  • รุ่นของประสาทหูเทียมในปัจจุบัน
  • สถานะผู้ป่วยฝังประสาทหูเทียมในประเทศไทย
  • การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
  • วิธีการผ่าตัด
  • การฟื้นฟูหลังการผ่าตัด

บรรณาธิการพยายามรวบรวมผู้นิพนธ์จากสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งโสต ศอ นาสิกแพทย์ รังสีแพทย์ และนักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีข้อผิดพลาดประการใด โปรดติดต่อทางบรรณาธิการ เพื่อแก้ไขในการพิมพ์ครั้งถัดไป จักเป็นพระคุณยิ่ง

https://www.hsri.or.th/media/printed-matter/detail/13003

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชย เป็นแพทย์นักวิจัยหู คอ จมูก อันดับ 3 ของประเทศไทย

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชย ได้รับการจัดอันดับเป็นนักวิจัยดีเด่นอันดับ 3 ในประเทศไทย Top 100 ในเอเชีย และ Top 500 ในระดับโลก จากฐานข้อมูล AD Scientific Index 2021: World Scientist and University Rankings 2021

AI in Medical Imaging

รศ.ดร.นพ.ภาธร ภิรมย์ไชย และรศ.พญ.ขวัญชนก ยิ้มแต้ เป็นวิทยากรการเสวนาในโครงการ lunch talk ในเรื่อง AI in Medical Imaging สำหรับการวินิจฉัยโรค

แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไทรอยด์ ThyPRO ฉบับภาษาไทย

แพทย์ นักวิจัยและผู้ที่รักษาผู้ป่วยโรคไทรอยด์ สามารถใช้แบบสอบถาม ThyPRO ที่แปลเป็นภาษาไทยและได้รับการทดสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือแล้ว สามารถ download จาก linkด้านล่าง

โดยสามารถดูข้อมูลการทดสอบความเที่ยงตรงและความน่าเชื่อถือได้ในวารสาร International Archives of Otorhinolaryngology ตาม link นี้

https://www.thieme-connect.com/products/ejournals/abstract/10.1055/s-0040-1701270